แนวโน้มและโอกาสของแรงงานไทย
จากข้อมูลจำนวนแรงงานต่างชาติในประเทศบรูไน ปี 2549 ของกรมแรงงานบรูไน มีแรงงานต่างชาติทำงานอยู่ในประเทศบรูไนในภาคเอกชน รวมทั้งสิ้น 77,234 คน
แรงงานต่างชาติที่มีจำนวนมากที่สุดคือแรงงานจากประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีจำนวนถึง 21,528 คน แรงงานจากประเทศฟิลิปปินส์ตามมาเป็นอันดับที่สอง มีจำนวนทั้งสิ้นรวม 15,225 คน แรงงานจากประเทศมาเลเซียตามมาเป็นอันดับที่สาม มีจำนวนรวม 14,705 คน แรงงานจากประเทศไทยเป็นลำดับที่สี่ มีจำนวน 8,466 คน แรงงานจากประเทศอินเดียเป็นลำดับที่ห้า มีจำนวน 8,420 คน และแรงงานจากประเทศบังคลาเทศ เป็นลำดับที่หก มีจำนวน 6,256 คน
ในห้วงระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา มีความต้องการจ้างแรงงานไทยผ่านสำนักงานแรงงานในประเทศบรูไน ดังนี้
พ.ศ. 2545 มีความต้องการจ้างแรงงานไทยผ่านสำนักงาน 7,209 คน
พ.ศ. 2546 มีความต้องการจ้างแรงงานไทยผ่านสำนักงาน 5,646 คน
พ.ศ. 2547 มีความต้องการจ้างแรงงานไทยผ่านสำนักงาน 8,434 คน
พ.ศ. 2548 มีความต้องการจ้างแรงงานไทยผ่านสำนักงาน 6,593 คน
แนวโน้มความต้องการจ้างแรงงานไทยในประเทศบรูไนในห้วงปี 2549 –2551 จะมีปริมาณที่ไม่แตกต่างกันมากนัก การจ้างงานจะเป็นไปตามตามสภาวะการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศบรูไน คาดว่ามีแนวโน้มความต้องการจ้างงาน ประมาณ 6,500 – 7,000 คน แยกเป็น
- ภาคก่อสร้าง ร้อยละ 60 ในตำแหน่งกรรมกร และช่างฝีมือ
- ภาคเหมืองแร่และการผลิต ร้อยละ 20 ในตำแหน่งช่างเย็บผ้า และคนงานในโรงงาน
- ภาคการขายส่งขายปลีก ร้อยละ 5 ตำแหน่งพนักงานขายสินค้า ,เก็บของจัดของ
- ภาคบริการชุมชน ร้อยละ 5 ตำแหน่งคนงานทำความสะอาด,ช่างซ่อมรถยนต์
- ส่วนที่เหลือเป็นตำแหน่งงานที่กระจายไปตามภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ
ความต้องการจ้างแรงงานไทยในประเทศบรูไนในห้วงปี 2549 –2551 มีแนวโน้มที่จะมีปริมาณลดลง ทั้งนี้สาเหตุจากปัจจัยต่างๆหลายประการคือ
1. ปัจจัยด้านระดับอัตราค่าจ้างและรายได้ ระดับอัตราค่าจ้างและรายได้ ของแรงงานต่างชาติที่ได้รับในประเทศบรูไน
2. ปัจจัยด้าน Labour Supply ถึงแม้นายจ้างบรูไนจำนวนมากจะพึงพอใจ ในฝีมือการทำงานของแรงงานไทย และต้องการจ้างแรงงานไทยจำนวนมาก แต่จำนวนแรงงานไทยที่ต้องการเดินทางมาประเทศบรูไนกลับมีปริมาณลดลง สาเหตุที่ทำให้มีผู้ต้องการเดินทางมาทำงานประเทศบรูไนลดน้อยลง เนื่องจากรายได้ที่ได้รับอยู่ระหว่าง 18 – 20 เหรียญต่อวัน การให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาลดลงหรือไม่มีการทำงานล่วงเวลา ปัญหาการจ่ายค่าจ้างล่าช้า แรงงานไทยต้องการรอการไปทำงานในประเทศเกาหลี อิสราเอล หรือประเทศอื่น ซึ่งคาดว่าจะได้รับค่าจ้างสูงกว่า
3. การสิ้นสุดของ Multi Fiber Agreement ณ วันสิ้นปี 2004 ซึ่งมีผลให้ระบบโควต้าในการส่งสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป สิ้นสุดลง ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปของประเทศบรูไน ซึ่งเกิดจากนักลงทุนต่างชาติเข้ามาประกอบกิจการอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพื่ออาศัยโควต้าของประเทศบรูไน ในการส่งสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป อาจเคลื่อนย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีแหล่งค่าจ้างแรงงาน และวัตถุดิบราคาถูก อาทิ จีน อินเดีย บังคลาเทศ เนื่องจากไม่จำเป็นต้องอาศัยโควต้าของประเทศบรูไน ซึ่งได้ส่งผลให้การจ้างแรงงานในอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าของบรูไน ซึ่งใช้แรงงานต่างชาติเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งแรงงานไทยด้วย
ทิศทางในการส่งเสริมการจ้างงานแรงงานไทยคงจะต้องมุ่งที่จะส่งเสริมการให้แรงงานไทยในระดับวิชาชีพ ให้สนใจที่จะเข้าไปทำงานในประเทศบรูไน โดยเฉพาะในกิจการซ่อมบำรุง แท่นขุดเจาะน้ำมันซึ่งมีบริษัทผู้รับเหมาจำนวนมาก รับจ้างช่วงงานจากบริษัทบรูไนเชลล์ ซึ่งปัจจุบันนี้มีบุคลากรด้านวิศวกร ของไทยทำงานอยู่น้อย ซึ่งส่งผลต่อการจ้างงานในระดับช่างฝีมือและกรรมกรไทยด้วย ซึ่งวิศวกรส่วนใหญ่ ในกลุ่มงานซ่อมบำรุงแท่นขุดเจาะน้ำมัน จะมาจากประเทศมาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ก็พยายามที่จะจ้างพนักงานระดับล่างมาจากประเทศของตนเอง ดังนั้นจึงต้องอาศัยการส่งเสริมการให้แรงงานไทยในระดับวิชาชีพ เป็นเรือธงในการนำแรงงานระดับล่างเข้าไปทำงานเพิ่มมากขึ้น
- ล็อกอิน เพื่อแสดงความคิดเห็น
- อ่าน 8193 ครั้ง